Episodes
Saturday Mar 20, 2021
10 ปี สงครามซีเรีย | Podcast ตัวต่อตัว EP11
Saturday Mar 20, 2021
Saturday Mar 20, 2021
ถ้าเด็กชาวซีเรียคนหนึ่งเกิดหลัง 15 มีนาคม ปี 2011 วันนี้เด็กคนดังกล่าวจะอายุ 10 ขวบ แต่น่าเศร้าที่เด็กคนนั้นจะไม่รู้จักซีเรียในมุมอื่น เว้นแต่สงครามและความตาย
10 ปีแล้วที่ซีเรียย่อยยับจากสงคราม จากการประท้วงต่อต้านรัฐบาลของประธานาธิบดี บาซาร์ อัล-อัสซาด วันนี้มันขยายลุกลามกลายมาเป็นสงครามตัวแทนที่มีนานาชาติเข้ามาเกี่ยวพัน
นอกจากคร่าชีวิตผู้คนไป 700,000 คน ความขัดแย้งยังก่อกำเนิดคลื่นผู้อพยพอีกหลายล้านคน กระจัดกระจายไปในค่ายของประเทศเพื่อนบ้าน บ้างดั้นด้นเข้าไปในยุโรป
จุดเริ่มต้นมาจากอะไรและวิกฤตนี้มีทางออกหรือไม่?
Friday Mar 19, 2021
ชาติพันธุ์เมียนมาเปิดหน้าสู้ | Podcast EP94
Friday Mar 19, 2021
Friday Mar 19, 2021
เมียนมาประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ถึง 135 ชาติพันธุ์ และการจะมองอนาคตของเมียนมา จำเป็นต้องพิจารณาบทบาทของบรรดาชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ด้วย
หลังรัฐประหาร บทบาทของกลุ่มชาติพันธุ์กำลังเริ่มปรากฏแจ่มชัดขึ้น เมื่อหลายฝ่ายเริ่มออกมาต่อต้านกองทัพเมียนมา รวมไปถึงการจับอาวุธลุกขึ้นสู้กับกองทัพ
ขณะนี้พวกเขากำลังกลายมาเป็นหนึ่งในผู้เล่นสำคัญท่ามกลางรัฐประหาร เมื่อฝ่ายกองทัพและรัฐบาลพลเรือนเองต่างต้องการเสียงสนับสนุนของชนกลุ่มน้อยเหล่านี้
Monday Mar 15, 2021
กบฏโคลอมเบีย สันติภาพที่ยังไม่มาถึง | Podcast EP93
Monday Mar 15, 2021
Monday Mar 15, 2021
ช่วงหลายปีที่ผ่านมารัฐบาลโคลอมเบียพยายามสร้างข้อตกลงยุติความขัดแย้งที่ยืดเยื้อยาวนาน เป็นความขัดแย้งกับกลุ่มกบฏที่มีมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็น มาวันนี้ความสงบเริ่มคืนกลับมา แต่หนทางสู่สันติภาพถาวรไม่ใช่เรื่องง่าย
แม้จะมีการลงนามข้อตกลงสันติภาพระหว่างรัฐบาลโคลอมเบียและกลุ่มกบฏ แต่อดีตกบฏหลายคนก็ปรับตัวไม่ได้เมื่อต้องมาใช้ชีวิตนอกป่า ประกอบอาชีพอย่างคนธรรมดา
Saturday Mar 13, 2021
รวันดาหลุดพ้นจากรัฐล้มเหลว | Podcast ตัวต่อตัว EP10
Saturday Mar 13, 2021
Saturday Mar 13, 2021
สถานการณ์ความวุ่นวายในเมียนมาสร้างความกังวลให้กับหลายฝ่ายว่าบทสรุปของรัฐประหารครั้งนี้อาจลงเอยด้วยสถานะ “รัฐล้มเหลว”
เข้าแล้วออกยากคือนิยาม เพราะจากการจัดอันดับของกองทุนเพื่อสันติภาพจะเห็นว่า
รายชื่อประเทศที่มีความมั่นคงน้อยที่สุด 10 อันดับของโลก มักเป็นชื่อประเทศซ้ำๆ
ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามมีประเทศหนึ่งที่สามารถหลุดพ้นจากชะตากรรมนี้
และปัจจุบันกำลังผงาดขึ้นเรื่อยๆ ในทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี นั่นคือ
“รวันดา”
Friday Mar 12, 2021
ดราม่าราชวงศ์อังกฤษ | Podcast EP92
Friday Mar 12, 2021
Friday Mar 12, 2021
บทสัมภาษณ์ที่เจ้าชายแฮร์รี่และเมแกน ดยุคและดัชเชสแห่งซัสเซกส์ได้ประทานให้กับโอปรา วินฟรีย์ ผ่านทางช่อง CBS ของสหรัฐฯ ถูกสื่อเปรียบเทียบว่าราวกับการทิ้งระเบิดใส่ราชวงศ์อังกฤษ
เพราะเต็มไปด้วยหลายประเด็นดราม่า ตั้งแต่เรื่องค่าใช้จ่ายที่ปรับลดงบประมาณลง แรงกดดันที่ทำให้เมแกนเคยคิดฆ่าตัวตาย ไปจนถึงการเหยียดสีผิวอาร์ชี โอรสของเมแกน
ด้านปฏิกิริยาตอบกลับก็ร้อนแรง เพราะในสังคมมีทั้งฝ่ายที่เห็นใจและไม่เห็นด้วยกับการออกมาสัมภาษณ์ของทั้งสองพระองค์
Monday Mar 08, 2021
ขยะพลาสติกท่วมโลก | Podcast EP91
Monday Mar 08, 2021
Monday Mar 08, 2021
มนุษย์เราสร้างขยะให้แก่โลกเป็นจำนวนมากถึง 2,120 ล้านตันในแต่ละปี มากบ้าง น้อยบ้าง ลดหลั่นกันไปตามการบริโภคของประชากรในประเทศ
การจัดการปัญหาขยะคือหนึ่งในดัชนีชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศนั้นๆ ไม่ว่าจะด้วยวิธีรีไซเคิล เผา หรือฝังกลบ
หลายประเทศในอาเซียนกำลังกลายเป็นถังขยะใบใหญ่ให้แก่ประเทศพัฒนาแล้ว ค่าแรงที่ต่ำและข้อกฎหมายอันหละหลวมเปิดช่องให้ขยะผิดกฎหมายมากมายเดินทางมาถึง โดยเฉพาะขยะพลาสติก
Saturday Mar 06, 2021
เปิดคุกโหดที่ใช้ขังศัตรูปูติน | ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี EP9
Saturday Mar 06, 2021
Saturday Mar 06, 2021
Penal Colony หมายเลข 2 ตั้งอยู่ในเมืองโปครอฟ เมืองเล็กๆ ที่ห่างจากกรุงมอสโกราว 96 กิโลเมตรไปทางตะวันออก
เรือนจำแห่งนี้ได้ชื่อว่ามีกฎระเบียบเข้มงวดที่สุด นักโทษจะไม่มีอิสระแม้แต่ก้าวเดียว ไม่มีเวลาส่วนตัวใดๆ ไม่รับรู้โลกภายนอก ทุกการกระทำจะถูกควบคุมและจับตามองจากผู้คุมตลอดเวลา และที่สำคัญคือนักโทษมีกฎว่า “ห้ามพูด”
ปราศจากการตรวจสอบ ทั้งยังซ่อนเร้นจากการรับรู้ของผู้คน นับจากนี้ชะตากรรมของศัตรูปูตินจะเป็นอย่างไร?
Friday Mar 05, 2021
ใครคือมิตรสหายใหม่ของทหารเมียนมา? | Podcast EP90
Friday Mar 05, 2021
Friday Mar 05, 2021
เมื่อพูดถึงมหามิตรของเมียนมาขณะนี้หลายคนอาจนึกถึงจีนแต่อันที่จริงอีกชาติหนึ่งที่ประชาคมโลกกำลังจับตาท่าทีก็คือรัสเซีย
สำหรับพลเอกมินอ่องหล่ายตัวเขาผูกพันและพยายามเชื่อมความสัมพันธ์กับรัสเซียมานานตั้งแต่การส่งทหารไปฝึกรบจนถึงการซื้ออาวุธต่างๆ
สหายใหม่รายนี้ยิ่งจะทำให้ความพยายามในการกดดันของสหรัฐฯที่เรียกร้องประชาธิปไตยยากเข้าไปอีกขั้น
Sunday Feb 28, 2021
Fast Fashion อุตสาหกรรมทำลายโลก | Podcast EP89
Sunday Feb 28, 2021
Sunday Feb 28, 2021
ช่วงปี 1990 อุตสาหกรรมหนึ่งที่มาแรงคือ อุตสาหกรรม Fast Fashion
‘Fast Fashion’ คือการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปตามกระแสนิยมในราคาที่ไม่แพงมาก เป็นแฟชั่นวงจรสั้นๆเพื่อเน้นการขายในปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็ว
ในแต่ละปี Fast Fashion ผลิตเสื้อผ้า 8 แสนล้านตัน เพื่อตอบสนองความต้องการ แต่เสื้อผ้าจำนวนมากถูกใช้ไม่กี่ครั้ง และลงเอยด้วยการถูกโยนทิ้ง
อุตสาหกรรม Fast Fashion ถูกตั้งคำถามถึงความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากร ทั้งในรูปแบบทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์
Saturday Feb 27, 2021
“อิสราเอล” ชาติแรกที่รอดโควิด | Podcast ตัวต่อตัว กับ กรุณา EP8
Saturday Feb 27, 2021
Saturday Feb 27, 2021
ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา “ยิว”
คือชนชาติที่ถูกกดขี่ข่มเหงและต้องระเห็จระเหินมานานหลายชั่วอายุคน
เริ่มตั้งแต่การตกเป็นทาสของชาวอียิปต์ แม้จะต่อสู้จนมีอาณาจักรของตนเอง
แต่อิสรภาพก็มีอายุไม่นาน เนื่องจากดินแดนของพวกเขาตั้งอยู่ตรงจุดเชื่อมต่อของสามทวีป ส่งผลให้เผชิญกับการคุกคามโดยอาณาจักรอื่นๆ มากมาย
รุนแรงที่สุดคือสมัยที่อาณาจักรของยิวถูกชาวโรมันรุกราน ผู้คนถูกจับไปขายเป็นทาส
และเมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลาย ชาวยิวก็กระจัดกระจายไปทั่วยุโรป
ข้ามมายุคกลาง ชาวยิวมักเป็นที่รังเกียจและตกเป็นแพะรับบาปบ่อยๆ
จากความต่างทางศาสนาและวัฒนธรรม และเมื่อโลกเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ชาวยิวคือเหยื่อของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ปัจจุบันแม้จะมีประเทศเป็นของตนเองแล้วแต่ก็รายล้อมด้วยชาติศัตรูอย่างอาหรับ
เหล่านี้คือแรงขับให้ชาวอิสราเอลพัฒนาตนเอง โดยมีเป้าหมายที่จะให้เผ่าพันธุ์อยู่รอด
และล่าสุด อิสราเอล กลายมาเป็นประเทศเดียวที่กำลังจะรอดพ้นจากโควิด
หลังกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า ความเสี่ยงที่คนจะติดเชื้อลดลงถึงร้อยละ 95.8
หัวใจหลักของความสำเร็จมาจากการทุ่มเททรัพยากรมนุษย์ โดยมีกองทัพอยู่เบื้องหลัง